คู่มือนิพพาน คู่มือนิพพาน


ข้อมูลเจ้าของประกาศ/ผู้โพส

admin

  • Administrator
  • Newbie
  • *****
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: อ๊อด BR
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: 0985953696
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: ละหานทราย
  • ระบุจังหวัด: บุรีรัมย์

ข้อมูลประกาศ

« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2557, 08:19:19 PM เข้าชม 12184 ครั้ง| 0 คอมเมนต์ »



  ประเภท : บอร์ดสนทนา                


รายละเอียดประกาศ




คู่มืออยู่อย่างนิพพาน
นิพพานสำหรับทุกท่าน
             
                  มาทำความเข้าใจกันก่อน ชีวิต คืออะไร อะไรคือชีวิต  ชีวิตมีส่วนใหญ่ๆอยู่สองส่วน
1.   ส่วน ร่างกาย เป็นชราพุชะกำเนิด (เป็น ฮาร์ดแวร์ เป็นรูปธรรม)
2.   จิตใจ ปรากฏจากร่างกายนั้น  เป็นโอปปาติกะกำเนิด (เป็น ซอฟต์แวร์ เป็นนามธรรม)
สองส่วนรวมกันเป็นชีวิต ชีวิตต้องทำหน้าที่ การทำหน้าที่ต้องศึกษา ให้รู้ความจริงสิ่งที่สังขารกันขึ้น ชีวิตต้องเกี่ยวคล่องกับสิ่งที่สังขารกันขึ้น  เวลานี้เราศึกษาวิชชาการอะไรก็ตามนั้นก็คือเป็นสิ่งที่สังขารกันขึ้นทั้งนั้น สมควรหรือเปล่าที่จะเห็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น ทุกวันนี้ที่เรามีปัญหาเวลาเราทำงานกระทั้งเราก็เรียนจบมากันก็มากพอควรทำไม่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะเราไม่เห็นความเป็นจริงสิ่งที่สังขารกันขึ้น  ตอนที่จะทำงาน กำลังทำ ทำสำเร็จแล้ว สาเหตุที่เราไม่ได้ศึกษาความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้นในวิชชาการนั้นๆให้เห็นความจริง  เราก็ไม่มีโอกาสเห็นความจริงว่าสิ่งนั้นปรากฏขึ้นเพราะการสังขารกันขึ้น  เวลาเราทำงานจึงได้รับแต่ ความทุกข์ที่พอใจกับทุกข์ที่ไม่พอใจเท่านั้น ไม่สงบสันติ นี้คือผลมาจากไม่เห็นความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น
        เรามาศึกษา การสังขารของวิชชาการนั้นๆ พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ อริยสัจ 4 ก็คือความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น จึงทำให้ท่านปราศจากทุกข์ทั้งปวง สงบสันตินิพพาน
       สังขาร คือ
1.   ธาตุ
2.   ธาตุ มีกฎสัจจะของธรรมชาติ
3.   กฎธรรมชาตินั้น มีหน้าที่ธรรมชาติ
4.   หน้าที่ธรรมชาตินั้น คือ การสังขารในสิ่งต่างๆให้ปรากฏสังขต ธาตุ เป็นเช่น
1.   ตถตา-ความเป็นเช่นนั้น
2.   อวิตถตา-ไม่ผิดไปจากความเป็นเช่นนั้น
3.   อนัญญถตา-ไม่เป็นอย่างอื่น
4.   อิทัปปัจจยตา-สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงปรากฏ
5.   ธัมมฐิถตา-ตั้งอยู่ตามธรรมดา
6.   ธัมมนิยามตา-เป็นกฏสัจจะธรรม
7.   สุญญตา-ว่าจากความมีตัวบุคล
8.   อนัตตา-สิ่งนั้นสังขารกันขึ้น
9.   อตัมยตา-ไม่มีปัจจัยอะไรมาปรุงแต่งได้ 
(สงบสันติ นิพพาน)
เมื่อเห็นความสามัญของกองสังขาร ก็คิดอย่างปกติในการงานนั้น ก็เห็นรู้อย่างบริสุทธิ์ มั่นคง ว่องไว  ดำเนินไปโดยอริยมรรค  คือ
1.   เห็นความสามัญ             (สัมมาทิฏฐิ)
2.   คิดโดยความสามัญ       (สัมมาสังกัป) 
3.   วาจาสัจจะ                    (สัมมาวาจา)
4.   การกระทำ ไม่มีผู้กระทำ (สัมมากัมมันต)
5.   ดำรงชีวิตอย่างปกติ        (สัมมาอาชีว)
6.   ดำเนินไปโดยความมั่นคง(สัมมาวายาม)
7.   เห็นรู้กิจต่อหน้า              (สัมมาสติ)
8.   บริสุทธิ์ มั่นคง ทันเวลา     (สัมมาสมาธิ)
ต้องรู้ความปกติก่อน จึงจะรู้ความไม่ปกติ
•        ผู้มีศีล คือผู้เห็นความปกติของสิ่งนั้น
•        รูปลักษณ์ที่เป็นศีลปะ คือรูปลักษณ์ที่เป็นปกติ
•        ดูอย่างเป็นศีล  คือดูความปกติ
•        มีศีลปะการใช้ชีวิต คือใช้ชีวิตอย่างปกติในฐานรูปนั้น
•        นิพพาน คือความปกติ
•        อย่าไปหาของที่ไม่รู้จัก  จะไปหาของที่ไม่มี จะพบได้อย่างไร
•        จงรู้สิ่งที่พูด  อย่าเอาความรู้มาพูด
•        จงฟังเรื่อง  อย่าฟังคน
•         
         การศึกษาของเราเวลานี้ เราศึกษาจากบัญญัติส่วนหนึ่ง กับธรรมชาติส่วนหนึ่ง เราต้องมาทำความเข้าใจกับบัญญัติให้ชัดเจน บัญญัติมาจากอรรถ อรรถมาจากธรรม บุคคลใดจะบัญญัติอะไรต้องเห็นธรรมก่อนจึงมาหาความหมายของธรรมนั้นจึงจะบัญญัติลงไป  คำบัญญัตินั้นเป็นแค่สูตรเท่านั้น จงศึกษาสูตรให้เป็นศาสตร์ให้จงได้ ศาสตร์ คือ วิชชาการ คือ อริสัจที่ฟ้าชาย    สิทธัตถะตรัสรู้สิ่งนั้นโดยตน จึงได้ปรากฏขึ้นของความมี  ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือ ปฏิธรรมโดยวิถีทางของอริมรรคมีองค์ 8 อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ สงบสันติ นิพพาน  เราท่านจงมาศึกษาส่วนที่เป็นบัญญัติให้ถึง อรรถถึงธรรม อย่าไปมักง่ายกับบัญญัติ จะเป็นปัจจัยให้เสียทิดทางการศึกษาไปเบื่อต้น  จะทำให้ไม่พบศาสตร์นั้นๆได้เลย พุทธศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สมบูรณ์ที่สุดในการพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นวิชชาบริหารจัดการได้ทุกเงื่อนไข เป็นวิชชา MBA อย่างสมบูรณ์ เพิ่มศักย์ภาพในการทำหน้าที่ ทำไม่เราไปเอาวิชชานี้มาเป็นที่ผึ่งหรือเป็นศาสนาเสียเล่า  จงเอาวิชชาพุทธศาสตร์เป็นคุณสมบัติความประพฤติและความเห็น เป็นตัวเราเอง โดยใช้หลักสูตร 4 อย่างของอริยสัจ คือ ความจริงของสิ่งที่สังขารกันขึ้น อย่างรอบครอบลึกซึ้ง ให้ประจักธรรมชาติของสิ่งนั้นโดยตน  พ้นจากการเวลา เรียกมาให้ตน  คนนำมาปฏิบัติ เป็นปัจจัยให้ปรากฏปัญญา รู้ปัจจัยของกองที่จะสังขารกันขึ้น
หลักสูตรการศึกษา
1.   หลัก 4 คือ อริยสัจ 4 วิชชา 4
2.   วิธีการ 3 คือ ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา
3.   วิถีทาง 8 คือ อริยมรรคมีองค์ 8 อย่าง
ข้อ 1 จงศึกษาสิ่งที่สังขาร หรือ วิชชาที่เราทำหน้าที่อยู่ โดยหลักอริยสัจ
1.   จงเห็นรู้ ธาตุหรือคุณสมบัติของนั้น   สภาวธรรม  คืออะไร
2.   จงเห็นรู้ กฎสัจจะของสิ่งนั้น   สัจจะธรรม   มาจากอะไร
3.   จงเห็นรู้ หน้าที่ของสิ่งนั้น  ปฏิบัติธรรม    เพื่ออะไร
4.   จงเห็นรู้ ปรากฏการณ์ของสิ่งนั้น ปฏิเวธธรรม โดยวิธีการอย่างไร
ข้อ 2 เมื่อเห็นวิชชา 4 แล้วก็ปรากฏ ศีล สมาธิ ปัญญา  เป็นเครื่องมือปฏิบัติหน้าที่โดยธรรม
1.   ศีล คือ เห็นความสามัญของสิ่งนั้น คิดโดยความสามัญของเรื่องนั้น (สัมมาทิฏฐิ-สัมมาสังกัป)
2.   สมาธิ คือ ความเห็นความรู้ที่บริสุทธิ์  ความชัดเจนมั่นคง ความว่องไวทันเวลา (บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย)
3.   ปัญญา คือ ความรู้ในสิ่งที่สังขารกันขึ้นอย่างคบถ้วน
ข้อ 3  เมื่อปฏิบัติหน้าที่โดย ศีล สมาธิ ปัญญา  ก็ปรากฏวิธีทาง อริยมรรคมีองค์ 8 อย่าง คือ
1.   เห็นความสามัญ (สัมมาทิฏฐิ)
2.   คิดโดยความสามัญ (สัมมาสังกัป)
3.   วาจาสัจจะ (สัมมาวาจา)
4.   การกระทำไม่มีตัว (สัมมากัมตะ)
5.   ดำรงชีวิตอย่างปกติ (สัมมาอาชีวะ)
6.   ดำเนินไปโดยความมั่นคง (สัมมาวายามะ)
7.   รู้กิจนั้นต่อหน้า (สัมมาสติ)
8.   เห็นรู้อย่าง บริสุทธิ์ ชัดเจนมั่นคง ว่องไวทันเวลา (สัมมาสมาธิ)
เมื่อทำหน้าที่โดยวิถีทางอริยมรรค ก็ปรากฏความสงบสันติ นิพพาน  จะนิพพานชั่วขณะ หรือ นิพพานถาวร ก็คือคุณสมบัติอย่างเดียวกัน
   จะปรากฏอีก 2 องธรรมคือ
1.   เห็นรู้สิ่งนั้น คบถ้วนโดยญาณ อย่างสามัญ         (สัมมาญาณ)
2.   ปราศจากปัจจัยที่จะมาปรุงแต่ง บริสุทธิ์ อตัมยตา (สัมมาวิมุต)
               นี้คือความที่บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยโลกุตรธรรม ๙ อย่าง คือ
มรรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ 
•        อริยมรรค- โสดามรรค อนาคามรรค สกิทานาคามรรค อรหัตมรรค
•        อริยผล- ผลของโสดา ผลของอนาคา ผลของอรหัต
•        นิพพาน
 
 
 
ฝากโลกียธรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร
คนประกอบไปด้วยธาตุ  6 คือ
1.   ธาตุดิน
2.   ธาตุน้ำ
3.   ธาตุลม
4.   ธาตุไฟ
5.   อากาศธาตุ
6.   วิญญาณธาตุ
ความเป็นธาตุแบ่งเป็น รูปธาตุ เป็นนามธาตุ   (เป็นฮาร์ดแวร์ กับ เป็นซอฟต์แวร์)
มีความเห็นโดยปกติของความเป็นคนการอุบัติมาเป็นแค่คน มีอายตนใน อาตนะ 6  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  อายตนะนอกตนเป็นปัจจัย 6 รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมมารมณ์
     การปรากฏสมุฐาน แห่งภพทรั้ง 3  เมื่อรูปปรากฏในวิญญาณ 6
1.   วิญญาณทางตา
2.   วิญญาณทางหู
3.   วิญญาณทางจมูก
4.   วิญญาณลิ้น
5.   วิญญาณทางกาย
6.   วิญญาณทางใจ
 อายตนะรู้รูปธาตุไม่ได้จรึงให้ความหมายทางดีทางไม่ดีนั้นก็ปรากฏผัสสะ
 
เบญจขันธ์
1.   ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์            (รูปขันธ์)
2.   รู้สึกต่ออารมณ์                            (เวทนาขันธ์)
3.   มันหมายในอารมณ์นั้น                (สัญญาขันธ์)
4.   นึกคิดปรุงแต่งในสิ่งที่มั่นหมายนั้น (สังขารขันธ์)
5.   รู้อารมณ์ที่ปรุงแต่งนั้น                  (วิญญาณขันธ์)
เมื่อขันธ์ 5 ได้หยั่งลงในหมู่สัตว์นั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นอนุศัยกิเลส เป็น สมุฐานการเกิดภพชาติ ของ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เป็นขบวนการวัฏฏะ  เมื่อธาตุรู้ไปรู้ขันธ์ไม่ใช้วิชชา เป็นอวิชชา ก็เกิด ดังนี้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 28, 2557, 08:30:13 PM โดย admin »