ธรรมมะคืออะไร ธรรมมะคืออะไร


ข้อมูลเจ้าของประกาศ/ผู้โพส

admin

  • Administrator
  • Newbie
  • *****
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: อ๊อด BR
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: 0985953696
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: ละหานทราย
  • ระบุจังหวัด: บุรีรัมย์

ข้อมูลประกาศ

« เมื่อ: มกราคม 05, 2558, 05:16:22 PM เข้าชม 14201 ครั้ง| 0 คอมเมนต์ »



  ประเภท : บอร์ดสนทนา                


รายละเอียดประกาศ



ธรรรมมะคือ
ธรรมมะคือ  ธรรมชาติ
ธรรมมะคือ  กฎของธรรมชาติ
ธรรมมะคือ  หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ
ธรรมมะคือ  ผลอันเกิดขึ้นจากการทำหน้าที่นั้น
 
พระพุทธคือ  ความรู้ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์
พระธรรมคือ  ธรรมชาติของทุกสิ่งทุกอย่าง โดย ของที่ถูกเห็นโดยความบริสุทธิ์บริบูรณ์
พระสงฆ์คือ  ทำหน้าที่โดยความเป็นธรรมต่อหน้าที่ธรรมชาตินั้น
       ( นี้คือสิ่งที่ท่าน ต้องมี ต้องปรากฏในบุคลิกของท่าน )
 
 
 
     ศีลคืออะไร
     ศีลมาจากอะไร
     ศีลเพื่ออะไร
     ศีลโตยวิธีได
1.   ศีล คือ สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัป     คือความเห็นความสามัญของสิ่งที่ถูกเห็น  คิดความสามัญของที่เห็น คือ ศีล   ศีลมิใช่สิกขาบท 5-8-10-227 ถ้ายังละเมิดสิกขาบทเหล่านี้อยู่ก็ต้องละเว้นให้หมดจดก่อนจรึงจะมาสมาทานสัมมาทิฏฐิ (สัมมาทิฏฐิ สมาทานัง สัพพัง ทุกขัง อุปัจจคุง)
2.   ศีล มาจากสมาทานสัมมาทิฏฐิ  (สัมมาทิฏฐิ สมาทานัง สัพพัง ทุกขัง อุปัจจคุง)
3.   ศีล เพื่อดำเนินไปในกิจการนั้นๆโดย มีเทคนิค  โดยมีศิลปะ  [art]
4.   ศีล  โดยวิธีทำให้ เห็นสิ่งที่ถูกเห็น คิดสิ่งที่เห็น โดยความบริสุทธิ์ 
ท่านจงทำความประจักษ์ในคุณสมบัติของศีล ก็จะได้สมาทานสัมมาทิฏฐิ ท่านก็จะมีศีล การที่มีศีลก็จะปรากฏสมาธิ  (บริสุทโธ  สมาหิโต  กรรมนีโย )
 
 
 
1. สมาธิคือ อะไร
2. สมาธิมาจาก อะไร
3. สมาธิเพื่อ อะไร
4. สมาธิโดยวิธีใด
สมาธิ คือ  เอกคตาจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์
สมาธิ มาจาก  ความบริสุทธิ์หนึ่งเดียว  ความชัดเจนมั่นคง  ความว่องไว (บริสุทโธ  สมาหิโต  กรรมนีโย)
สมาธิ เพื่อเห็นกองสังขารให้ครบถ้วน  คือสภาวะของปัญญา
สมาธิ  โดย  มีศีล เห็นความสามัญสิ่งที่มาสัมผัสกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  คิดความเป็นสามัญของสิ่งที่มาสัมผัส    โดยความบริสุทธิ์ หนึ่งเดียว จงเห็นสิ่งที่ถูกเห็น จงรู้สิ่งที่ถูกรู้  อย่าเอาความรู้ไปรู้   อย่ารู้เห็น  จงเห็นรู้   เมื่อเห็นรู้อะไรเพียวๆแล้วก็จะ ชัดเจนมั่นคง เมื่อมีความมั่นคง ก็จะว่องไว พร้อมที่จะทำหน้าของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  โดยปราศจากนิวรณ์  5 ประการ
1.   กามฉันทะ / ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ[content]
2.   พยาบาท / การคิดปองร้ายผู้อื่น[vengefulness]
3.   ถีนะมิทธะ / ความที่จิตหดหู่    เชื่องซึม[to lament]
4.   อุทธัจจะกุกกุจจะ / ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ[to be annoyed by sty.]
5.   วิจิกิจฉา / ความลังเลสงสัย[to suspect]
ก็จะปรากฏความ  สะอาด  สว่าง  สงบ   ไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ในโอปาฏิกะ กำเนิด  ก็จะทำหน้าที่โดยมัชฌิมาปฏิปทาโดยปราศจากทุกข์  เราก็คือ ธรรมชาติ  ทำหน้าที่ๆธรรมชาติมีให้ทำ  ทำเสร็จแล้วก็ส่งคืนธรรมชาติไป ก็จะนิพพานทุกๆหน้าที่      นิพพานเป็นบรมธรรม เป็นอย่างยิ่ง  พระพุทธเจ้าท่านกล่าว
องค์ของสมาธิ  ประกอบด้วยองค์ 3
1.   บริสุทโธ    [เพียว pure]
2.   สมาหิโต   [ชัดเจนมั่นคง  concentrate ]
3.    กัมนีโย  [พร้อมที่จะทำหน้าที่นั้นๆ  activeness ]
 
 
?     ปัญญา คือ อะไร
?     ปัญญา มาจากอะไร
?     ปัญญา เพื่อ อะไร
?     ปัญญาดำเนินไปโดยวิธีใด
 
1.   ปัญญา คือ ความเห็นรู้คบถ้วน  ในกองสังขารนั้นโดยในสัจจะ 4 อีกในหนึ่งหรือโดยวิชชา 4  จรึงบัญญัติว่าปัญญา
2.   ปัญญา มาจาก ธรรมชาติธาตุรู้ กลับธรรมชาติสิ่งที่ถูกรู้  ปฏิจปสมุปันธรรมกันขึ้น   สมังคีกันโดยความสมบูรณ์
3.   ปัญญา เพื่อ สมังคี กลับ ศีล สมาธิ ปรากฏเป็นไตรสิกขา เพื่อเป็นเครื่องมือ ทำหน้าที่ของธรรมชาติโดยธรรมชาติ ก็จะดำเนินไปโดยวิถีทางมัชฌิมาปฏิปทา
4.   ปัญญา ดำเนินไปโดยทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์กลับทุกสิ่งที่สัมผัสเกี่ยวคล่อง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ  โดยวิถีทางมัชฌิมาปฏิปทา เป็นวิถีทางที่ปราศจากทุกข์  เพราะไม่ได้เกิดจะเป็นทุกข์ได้อย่างไร  การเกิดทุกครั้งเป็นทุกข์ทุกครั้ง  การที่ทำหน้าที่โดยมีวิธีการ 3 อย่าง คือมี ศีล สมาธิ ปัญญา จรึงได้ทำหน้าที่โดยหน้าที่ โดยเห็นวิชชา 4  หรือสัจ 4 อย่างของสิ่งที่สังขารกันขึ้น  จึงปรากฏวิธีการ 3 อย่าง เพื่อทำหน้าที่ๆไม่มีคนทำ มีแต่การกระทำกลับสิ่งที่ถูกกระทำ  จึงได้ปราศจากเจตนา  ตามที่พุทธพจกล่าวว่า (เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง ) คำว่าเจตนาคือการกระทำที่มีผู้กระทำจึงปรากฏการเกิด ถ้าเกิดแล้วจะไม่ทุกข์ได้อย่างไร  ความเกิดเป็นสิ่งที่สังขารกันขึ้น เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะ 3 อย่าง    (1) มีธรรมชาติเป็นทุกข์ มีภาพทนอยู่สภาวะเดิมไม่ได้ (2) มีธรรมชาติเปลี่ยนแปลง รู้สึกต่ออารมณ์ (3) มีธรรมชาติมิใช่ตัวตน อาศัยการสังขารกันขึ้น   
                       เมื่อเห็นรู้สัจจะ 4 อย่างแล้วก็จะมีเครื่อง 3 อย่างทำหน้าที่ของธรรมชาติโดยธรรมชาติ นั้นคือวิถีทาง 8 อย่าง คือมรรคมีองค์ 8 เมื่อทำหน้าที่ๆสมบูรณ์ ก็ผลิตผลก็สมบูรณ์ สร้างศักยภาพให้กับผู้ทำหน้าที่ ก็จะตั้งบนวิหารธรรมของสมัตตะ 10 อย่าง  มีธรรมเป็นกัญยามิตร จะถึงความไม่ตาย มัชจุราชมองไม่เห็นตัวสงบสันติ  สะอาด สว่าง สงบ ฯ
   เมื่อท่านอุบัติขึ้นมาในโลก นี้แล้ว ทำหน้าที่ ได้เท่านี้ก็เพียงพอแล้วมิใช่หรือ จะต้องการอีกเล่า
 
 
หลักของพุทธศาสตร์มีวิชชา 4 อย่าง ปฏิบัติการ 3 อย่าง
วิชชาการ 4 อย่างคือ อริยสัจ
1.   ทุกขอริยสัจ-สภาวธรรม-ธรรมชาติ
2.   ทุกขสมุทัยอริยสัจ-สัจธรรม-กฎของธรรมชาติ-ขบวนการของธรรมชาติ
3.   ทุกขนิโรธอริยสัจ-ปฏิบัติธรรม-หน้าที่ของธรรมชาติ
1.   ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ-ปฏิเวธธรรม-ผลของธรรมชาติ-ปรากฏการณ์ของธรรมชาติ
คุณสมบัติของอริยสัจ
      ลักษณะ?ทนต่อการพิสูจน์
      อาการ?ดำรงอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย
      กิจจะ?มีความเป็นสัจจะในสังขารทั้งหลาย ครอบงำสังขารทั้งหลาย
      รส?มีวิมุตเป็นเอหิปัสสิโก เรียกมาดูได้
คุณสมบัติของผู้เห็นรู้อริยสัจ (เห็นรู้ธรรม)
      สัจจานุรักขนา-ตามรักษาซึ่งสัจจะ
      สัจจานุโพธา-ตามรู้ซึ่งสัจจะ
      สัจจานุปัตติ-ตามถึงซึ่งสัจจะ
ปฏิบัติการ 3 อย่างคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
1.   (ศีล) ? คุณสมบัติของผู้มีศีล? สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัป ?เห็นความสามัญ ดำริความสามัญ
2.   (สมาธิ)บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย  ?คุณสมบัติผู้มีสมาธิ? สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ-วาจาสัจ การกระทำที่ปราศจากตัวตนดำรงค์ชีวิตโดยธรรม ดำเนินไปโดยธรรม
3.   (ปัญญา)  ?คุณสมบัติของผู้มีปัญญา? สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เห็นรู้ในกองสังขารธรรมคบอริยสัจ 4
 
(ถ้าผู้ไดเห็นธรรม 4 อย่างผู้นั้นเห็นพุทธ  ผู้นั้นก็จะ เป็นพระพุทธ  เห็นพระธรรม  เป็นพระสงฆ์ มี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปฏิบัติธรรมโดยมัชฌิมาปฏิปทา โดยปราศจากการเกิดอีกต่อไป)  การเกิดทุกครั้งเป็นทุกข์ทุกครั้ง ถ้าไม่เกิดจะเอาอะไรมาเป็นทุกข์ ทำไม่จึงต้องมาดับทุกข์   ถ้ามีทุกข์แล้วจะดับทุกข์ได้อย่างไร เปรียบเหมือนไฟติดแล้วจะไปดับไฟจะดับได้อย่างไร   ทำไมไม่ทำให้ปัจจัยที่ทำให้ไฟติดไม่สังขารกัน ไฟก็ไม่ติด  ก็เมื่อไฟไม่ติดจะมีความร้อนได้อย่างไร  ก็เช่นเดียวกันเมื่อไม่เกิดก็ไม่เป็นทุกข์ อย่าให้เหตุปัจจัยสังขารกันขึ้นเป็นเราของเรา อย่างที่คำบาลีกล่าวว่า  (อะนิจจา  วะตะ  สังขารา  อุปปาทะวะยะธัมมิโน  ปัชชิตวา  นิรุชฌันติ  เตสัง  วูปะสะโม  สุโข)   สิ่งที่ปรุงกันไม่คงที่วนเวียน ไปเสียจากความหมาย ก็ปราศจากสิ้นเชิง ปลงแล้วซึ้งทุกข์ในที่นั้น     ถ้าท่านเห็นสัจธรรมในกองสังขาร  สิ่งที่อยู่ต่อหน้าเวลานี้เดี่ยวนี้  นี่คือใบไม้ที่อยู่ในมือแม้แต่เล็กน้อยเราก็ใช้ประโยชน์ได้   ส่วนใบไม้ที่มากมายที่ยังไม่ได้อยู่ในมืออย่าเพิ่งไปรู้มันเลย  ไว้เมื่อมันมาอยู่ในเมื่อคอยรู้มันเถิดฯ
 
 
 
ว่าด้วยเรื่องสติปัสฐาน 4
กาย  เวทนา  จิตต  ธรรม
   ก่อนอื่นต้องรู้จักแจ้งในตัวเราเองก่อน คือเบญจขันธ์ ทั้ง 5 อย่าง คือรู้จักอารมณ์ของตัวเราเอง เป็นสมุฐานของการเกิดภพชาติ   เพราะว่าฐาน 4 เป็นที่ตั้งแห่งกิจกรรมของเรา นั่ง ยืน เดิน นอน ถ้าเราไม่รู้อารมณ์ 5 อย่างของเราๆก็เอาอารมณ์ในจำนวน 5 อย่างเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างในจำนวน 5 อย่างนั้น ไปรู้สิ่งที่ถูกรู้เสียก่อน ตามอนุสัยเดิม  ?อยตนนั้นหรือสิ่งนั้นก็ถูกเติมธาตุอะไรลงไปอีกหนึ่งธาตุ หรือหลายธาตุ แล้วจึงได้รู้ ก็ถูกด้วย แต่ทว่าถูกอย่างทีปรุงขึ้นใหม่ นี่แหละคือรู้แบบอวิชชา ไม่รู้ความเป็นไปตามของเดิม เอาอารมณ์ จำนวน 5 อย่างไปเพิ่มเดิมแล้วจึงรู้ เจ้าตัวจึงว่ารู้ถูกแล้ว ก็ถูกแต่ถูกอย่างไรไม่รู้ จึงทำกิจกรรมนั้นไปโดยไม่รู้จบ นี่คือ วตสังขารา ที่ว่าไว้ในบังสุกุลตาย

 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 07, 2558, 05:03:04 PM โดย admin »