พุทธศาสตร์เป็นวิทยาศาตร์ พุทธศาสตร์เป็นวิทยาศาตร์


ข้อมูลเจ้าของประกาศ/ผู้โพส

admin

  • Administrator
  • Newbie
  • *****
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: อ๊อด BR
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: 0985953696
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: ละหานทราย
  • ระบุจังหวัด: บุรีรัมย์

ข้อมูลประกาศ

« เมื่อ: มีนาคม 11, 2558, 05:29:09 PM เข้าชม 15714 ครั้ง| 0 คอมเมนต์ »



  ประเภท : บอร์ดสนทนา                


รายละเอียดประกาศ




พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์
เมื่อพูดถึง วิทยาศาสตร์ บางคนก็ไม่สนใจ เห็นเป็นเรื่องของคน
อีกพวกหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่เรื่องของเรา, อาตมาก็เห็นใจคนเหล่านี้;
แต่ก็จะงดไม่พูดด้วยคำคำนี้ก็ไม่ได้ เพราะว่ามันกำลังมีปัญหา
ดังที่จะได้กล่าวให้ทราบต่อไป.
คำว่า วิทยาศาสตร์ นั้น เรายังเข้าใจกันอยู่แต่เพียงว่าเป็น
เรื่องวัตถุ เป็นเรื่องโลกๆ เป็นเรื่องของใหม่ๆ เป็นของทำ
เทียม เป็นของทำปลอม อะไรขึ้นมาหลอกคน, เข้าใจคำว่า
วิทยาศาสตร์ ไปเสียอย่างนี้ แล้วมันก็จะ พูดกันไม่รู้เรื่อง. ที่
จริงคำว่า วิทยาศาสตร์ นั้น ใช้เป็นคำเรียก สิ่งที่มีความจริง, และ
จริงชนิดที่ปรากฏเห็นๆอยู่ และจริงชนิดที่พิสูจน์ได้ ทดลองได้ไม่
ต้องอาศัยการคำนึงคำนวณ, ไม่ต้องอาศัยความเชื่ออย่างงมงาย,
ไม่ต้องอาศัย ความยึดมั่น อย่างละเมอเพ้อฝัน. อาตมาใช้ชื่อ
ชุดการบรรยาย นี้ว่า ธรรมะในฐานะวิทยาศาตร์ นี่ก็เพราะว่า
มันเป็นความจริง ที่ธรรมะนั้น มันเป็นวิทยาศาสตร์, เราไม่รู้
ความจริงข้อนี้ ก็เลยไม่เข้าใจ ก็เกิดความชะงักงัน หรือยังเป็น
หมัน ในการที่จะใช้ธรรมะ อย่างกะว่า เป็นวิทยาศาสตร์
สิ่งซึ่งมิใช่วิทยาศาสตร์ นั้น มีอีกมากมาย ที่เขาพอใจ หลงใหล
กันนัก ในสมัยนี้ ก็คือ สิ่งที่เรียกว่า ปรัชญา, คล้ายกับว่า โลก
สมัยนี้ เป็นโลกที่ เห่อปรัชญา, การเห่อปรัชญา ก็จะเป็นโรค
ระบาดเต็มโลก; อาตมาก็ต้อง ป้องกันตัว ไว้เสียก่อน คือป้อง
กันตัวของพระพุทธศาสนา หรือป้องกันตัวให้แก่พระพุทธศาสนา
ว่าอย่าให้ โรคเห่อปรัชญา มาครอบงำเอาพระพุทธศาสนา, ให้
พุทธศาสนาสามารถจะแยกตัวออกมาอยู่ในรูปของวิทยาศาสตร์
สำหรับจะได้เรียนกันอย่างเรียนวิทยาศาสตร์, สำหรับจะได้ปฏิบัติ
กัน อย่างปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ จึงได้พยายามชี้ให้เห็นว่า
ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์.
ทีนี้ ก็จะทำความเข้าใจให้ชัดลงไปอีกว่า คำว่า ธรรม ในที่นี้
คืออะไร คำว่า ธรรมในที่นี้ ก็คือ คำที่เราใช้เป็นชื่อของสิ่งที่
เรามักเรียกกันว่า ศาสนา, ซึ่งข้อนี้ก็เคยพูดมามาก แล้วว่า
ในสมัยโบราณ โดยเฉพาะครั้งพุทธกาล นั้นเขาใช้คำว่า ธรรม
เรียกชื่อ สิ่งที่เราเรียกกันในปัจจุบันนี้ว่า ศาสนา, เช่น ปัจจุบันนี้
ถามกันว่า ท่านถือศาสนาอะไร? ในครั้งกระโน้น เขาจะถามกัน
ว่า ท่านถือธรรมะอะไร, ธรรมะข้อไหน, ธรรมะของใคร? ฉะนั้น
ตัวศาสนาก็คือตัวธรรมนั่นเอง, และการที่เอามาพูดในวันนี้คำว่า
ธรรม ในที่นี้ก็หมายถึง ระบบของพระพุทธศาสนา, พุทธศาสนา
ทั้งระบบ เราเอามาเรียกด้วยชื่อสั้นๆว่า ธรรมหรือธรรมะ, แล้ว
อยากจะให้รู้จัก สิ่งที่เรียกว่า ธรรม หรือ ธรรมะนี่แหละ ว่ามัน
เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์, มันไม่ใช่เรื่องปรัชญา.
ถ้าเป็นเรื่องปรัชญา จะไม่เป็นตัวธรรมที่เป็นตัวศาสนา หรือ
ดับความทุกข์ได้, มันจะเป็นธรรมชนิดที่ไม่เกี่ยวกับความดับ
ทุกข์ มันจะเป็นเพียงธรรมสำหรับเรียน สำหรับรู้ สำหรับถก
เถียงกันเท่านั้นเอง. ฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายสนใจให้ดีว่า
เมื่อพูดถึงธรรมในที่นี้ ก็คือ ธรรมที่เป็นตัวศาสนาที่สามารถ
ปฏิบัติได้, และครั้งปฏิบัติแล้วก็ดับทุกข์ได้.
ในบัดนี้ มีปัญหาคาราคาซัง กันอยู่ในที่ทั่วๆไป คือมีคนบาง
พวก กำลังเถียงกันอยู่ เกี่ยวกับคำว่า ศาสนา หรือคำว่าธรรม
ในที่นี้. เขาเถียงกันว่า พุทธศาสนานี้เป็นปรัชญา ไม่ใช่เป็น
ศาสนา อย่างนี้ก็มี; นี่เพราะเขาไม่รู้ ความหมาย ของคำว่า
ศาสนา หรือรู้เป็นอย่างอื่นไปเสีย. อาตมา เคยบอกมาหลาย
ครั้งหลายหนแล้วว่า ถ้าเป็นศาสนา จะต้องเป็นวิทยาศาสตร์,
ถ้าเป็นพุทธศาสนา จะต้องเป็นใน รูปของวิทยาศาสตร์, ไม่
เป็นไปใน รูปของปรัชญา ซึ่งเราจะต้อง ทำความเข้าใจกัน
ให้ชัดเจนต่อไป. เดี๋ยวนี้ มัวแต่ เถียงกันไป เถียงกันมา ว่า
พุทธศาสนา เป็นปรัชญา ไม่ใช่เป็นศาสนา ดังนี้บ้าง, และยัง
มีที่เถียงกัน พูดกันว่า พุทธศาสนานั้น ขัดกับวิทยาศาสตร์
ดังนี้บ้าง.
การพูดว่าขัดกับวิทยาศาสตร์นั้น สำหรับคนในสมัยปัจจุบันนี้
เขาถือว่ามันเป็นเรื่องใช้ไม่ได้, ถ้ามันขัดกับหลักวิทยาศาสตร์
แล้ว มันก็ไม่เป็นความจริง. นี้เขาหาว่า พุทธศาสนา ขัดกับ
หลักวิทยาศาสตร์; เราบอกว่า ไม่ใช่เป็นอย่างนั้น, พุทธศาสนา
นั่นแหละ เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ เสียเอง, บางคนเป็นไปมาก
จนถึงกับว่าพุทธศาสนามิใช่ศาสนาไปเสียอีก อย่างนี้ก็มี, ด้วย
เขาไปหลงในปรัชญาให้พุทธศาสนากลายเป็นปรัชญา, เขาจึง
เรียนพุทธศาสนากัน แต่ในรูปแบบของปรัชญา เลยทำให้ ดับ
ทุกข์ไม่ได้ นี่ขอให้สนใจคำที่อาตมากำลังยืนยันว่า ถ้าเรียน
พุทธศาสนา กันใน รูปแบบของ ปรัชญา แล้ว จะไม่ดับทุกข์,
มันจะไม่เป็นการดับทุกข์. เราต้องเรียน พุทธศาสนา กันใน
รูปแบบของ ศาสนา ที่มีลักษณะ เป็นวิทยาศาสตร์ แล้วก็ปฏิบัติ
ลงไปได้จริงๆ จนดับทุกข์ได้.
พุทธศาสนาไม่ใช่ปรัชญา, พุทธศาสนาไม่ใช่วิชาจิตวิทยา,
พุทธศาสนาไม่ใช่วิชาตรรกวิทยา, พุทธศาสนาไม่ใช่ลัทธิ
สำหรับเชื่ออย่างงมงาย; แต่พุทธศาสนาเป็นเรื่องจริงของ
ธรรมชาติ อย่างที่เรียกกันว่า เป็นวิทยาศาสตร์ สำหรับปฏิบัติ
เพื่อดับทุกข์ ตามกฏของธรรมชาติ โดยตรง. ฉะนั้น เราจง
มารู้จักพุทธศาสนา ในฐานะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ กันเสีย
ให้ถูกต้อง, จะได้ป้องกันโรคเห่อปรัชญา ที่กำลังระบาด จะ
คลุมโลกทั้งหมด; โรคเห่อปรัชญานี้ กำลังระบาดมาก จะ
คลุมโลกทั้งหมด เป็นโรคเสียอย่างนี้เสียแล้ว ก็ศึกษาพุทธ
ศาสนา ให้สำเร็จประโยชน์ไม่ได้, จึงขอโอกาส มาทำความ
เข้าใจ เรื่องนี้ กันเสีย สักคราวหนึ่ง ให้ถึงที่สุด. อาตมาก็รู้สึก
ว่า คงเป็นที่เบื่อหน่าย ของท่านทายกทายิกาบางคน เพราะ
มันเป็น เรื่องที่ฟังดูแล้ว มันคล้ายกับ คนละเรื่องของตน, แต่
อาตมาก็ได้บอกแล้วข้างต้นว่า มันเป็นความจำเป็น ที่จะต้อง
พูดกันเรื่องนี้ จึงขอโอกาสพูดเรื่องนี้ โดยชี้แจง ให้ชัดเจน
เป็นตอนๆ ไปตามลำดับ จนกว่า จะเพียงพอ.
นี่สรุปความว่า เหมือนกับขอให้ท่านบางคนทนฟัง เรื่องที่ไม่
ชวนฟัง สำหรับท่าน, แต่อาจจะชวนฟังอย่างยิ่ง สำหรับคนบาง
คน หรือ บางท่าน, อาตมาจะทำอย่างไรก็ลองคิดดู มันต้องพูด
เพื่อความจริง ให้รู้ความจริง แล้วก็พูดเพื่อให้สำเร็จประโยชน์
ในการที่จะใช้ พระพุทธศาสนา ให้เป็นประโยชน์, แล้วก็จะ
ป้องกัน พระพุทธศาสนา ให้พ้นจาก ภัยอันตราย ของโรค
ระบาด คือการเห่อปรัชญา ให้หันมามองดู พระพุทธศาสนา
ในฐานะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์.
โดย ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกษุ

พุทธศาสตร์ต้องเป็นวิทยาศาสตร์
          พุทธศาสตร์ต้องเป็นวิทยาศาสตร์  ไม่ว่าอย่างไรก็เป็นได้ เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านแสดงธรรม โดยเห็นสิ่งที่ เป็นไปได้ ไม่ใช่เรื่องของกาลเวลา  เรียกมาพิสูจน์ได้  นำมาปฏิบัติได้  ปัจจัยนั้นเห็นโดยปัญญาได้ทุกคน  และมีคุณสมบัติ 4 อย่าง
1.   ลักษณะ  คือ ทนต่อการพิสูจน์
2.   อาการ  คือ การดำรงอยู่โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัย
3.   กิจจะ  คือ มีความเป็นธรรมในสิ่งที่สังขารกันขึ้น
4.   รส  คือ มีความบริสุทธิ์ที่เอามาพิสูตรในตนได้ (มี วิมุตติ เป็น เอหิปัสสิโก)
อริยสัจ 4 ประการ เป็นวิทยาศาสตร์ คือ
1.   ทุกขสภาวอริยสัจ คือ ธรรมชาติ
2.   ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ กฎของธรรมชาติ
3.   ทุกขนิโรธอริยสัจ คือหน้าที่ของธรรมชาติ
4.   ทุกขนิโรธมรรคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ วิถีทางปรากฏการณ์ของธรรมชาติ
เป็นความจริงของที่สังขารกันขึ้น  ทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏขึ้นโดยการสังขารกันขึ้นอย่างความเป็นธรรม  มีเหตุให้ปัจจัยนั้นๆ อาศัยกันปรากฏขึ้น มีลักษณะ 3 อย่าง คือ
1.   เป็นสิ่งที่สังขารกันขึ้น  คือ อนัตตา
2.   เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลง คือ อนิจจัง
3.   เป็นสิ่งที่ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ คือ ทุกขัง
หลักของพุทธศาสตร์  มี
1.   วิชาการ 4 คือ อริยสัจ 4
2.   วิธีการ 3 คือ ไตรสิกขา
3.   ปฏิบัติการ 8 คือ อริยมรรค

ภาคการศึกษาและปฏิบัติต้องเห็นกิจนั้นเป็นวิชาการในขั้นตอน 4 อย่างธรรมชาติ เห็นคุณสมบัติของธรรมชาติ  เห็นกฎของธรรมชาติ  เห็นกิจของธรรมชาติ  เห็นความเป็นเช่นนั้นของธรรมชาติ  คิดอย่างสะอาดบริสุทธิ์  รู้อย่างสว่าง ชัดเจน ครบถ้วน  นิ่ง แน่นอน ปราศจากวิจิกิจฉา วิธีการ 3 อย่างก็ปรากฏเป็นเครื่องมือไว้ปฏิบัติต่อชิ้นงานนั้นๆ อย่างมีศีล สมาธิ ปัญญา ดำเนินไปโดยวิถีทางอริยมรรคอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์  สงบ นิพพาน
ศีล สมาธิ ปัญญา คือ
•   ศีล คือ เห็นความสามัญของกิจนั้น  คิดโดยความสามัญของกิจนั้น (สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ)
•   สมาธิ คือ คิดอย่างสะอาดบริสุทธิ์  รู้อย่างสว่างสงบชัดเจนมั่นคง  เห็นอย่างว่องไว (บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย)
•   ปัญญา คือ รู้สิ่งที่สังขารกันขึ้นอย่างครบถ้วน ณ กาลนั้น เทศะนั้น (ปัญญาต้องรู้สิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น  เอาความรู้ไปรู้เป็นสัญญา)
            นี้คือที่พระพุทธเจ้าให้โอวาทปาติโมกข์ แด่ภิกษุสงฆ์ 1,250 รูปให้ประกาศพรหมจรรย์ เริ่มต้นงาม เนื้อหางาม สิ้นสุดงาม (อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง)
           มาศึกษาวิชชาพุทธศาสตร์กันให้ถูกต้องกันหน่อย จงอ่านหนังสือให้ออกอย่าอ่านอย่างผิดๆกันอยู่เลย ภาษาในพระไตรปิฎกเป็นภาษาวรรณคดี บทสวดมนต์ก็เป็นภาษาวรรณคดี  พระพุทธเจ้าท่านประกาศพรหมจรรย์โดยหลักวิชาการ 4 วิธีการ 3 ปฏิบัติการ 8 เท่านั้นทางเดียว  พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ประกาศศาสนา คำว่าศาสนา กับคำว่า พรหมจรรย์
•   คำว่า “ประกาศพรหมจรรย์” คือ การประกาศความประพฤติพร้อมทั้งวิชาการ วิธีการ ปฏิบัติการอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ เพื่อการดำรงตนอย่างถาวร ให้เห็นธรรม เป็นพุทธ ทำหน้าที่โดยวิถีทางอริยมรรคเป็นสังฆะโดยตน
•   คำว่า “ประกาศศาสนา” คือ การให้พึ่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
         จงพิจารณาดู จะเคารพคน หรือ เคารพธรรม  ถ้าตามอย่างพระพุทธเจ้าก็ตัองเคารพธรรม พระพุทธเจ้าท่านก็เคารพธรรมก็เห็นธรรมเป็นพุทธะ ดำเนินชีวิตโดยวิถีทางอริยมรรค ถ้าตามอย่างผีก็เคารพคน ก็ดำเนินชีวิตอย่างอ่อนแอต้องหาที่พึ่งอยู่ตลอดไปไม่รู้จบใช้ชีวิตในที่มืดออกจากที่มืดไม่ได้ มีชีวิตอย่างเปรตอยากได้อะไรก็ขอเอา
       ท่านทั้งหลายมาเดินทางแห่งชีวิตแบบพุทธะกัน โดยมาทำความรู้จักธรรมชาติที่อยู่รอบตัวให้เห็น คุณสมบัติของธรรมชาติ  เห็นกฎธรรมชาติ  เห็นกิจของธรรมชาติ  เห็นปรากฏการธรรมชาติเป็นเช่นนั้น   เมื่อเห็นธรรมชาติอย่างครบถ้วนบริสุทธิ์บริบูรณ์  ก็จะมีเครื่องมือปฏิบัติหน้าที่เข้าสู่วิถีทางอริยมรรคอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์   เครื่องมือนั้นคือ มีศีล เกิดสมาธิ ดำเนินไปโดยปัญญา นี่คือเครื่องมือในการปฏิบัติหน้าที่
•   มีศีล คือ เห็นความสามัญสิ่งที่สังขารกันขึ้น  คิดอย่างความสามัญ  สองอย่างรวมกันคือมีศีล  (สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปปะ)
•   มีสมาธิ คือ เห็นรู้อย่างบริสุทธิ์  มีความชัดเจน มั่นคง  ว่องไว  ซึ่งรวมกัน คือ การมีสมาธิ  (บริสุทโธ สมาหิโต กัมนีโย)
•   ปัญญา คือ เห็นรู้ในสิ่งที่สังขารกันขึ้น อย่างครบถ้วน บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ซึ่งมีสองส่วน คือ ความรู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้
เมื่อเห็นสิ่งที่ถูกเห็น เมื่อรู้สิ่งที่ถูกรู้ เป็นธรรมชาติ  กฎของธรรมชาติ กิจของธรรมชาติ ผลของธรรมชาติ อย่างชัดเจน ก็เป็นผู้มี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือปฏิบัติหน้าที่โดยธรรมอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์

เหล่านี้คือการเป็นวิทยาศาสตร์ของพุทธศาสตร์โดยแท้จริง

การคิดโดยพุทธศาสตร์                                                                         
•   การพ้นทุกข์โดยไม่รู้อริยสัจนั้น เป็นไปไม่ได้
•   เพราะไม่รู้อริยสัจ  จึงต้องแล่นไปในสังสารวัฏ
•   สัตว์เกิดกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย  เพราะไม่รู้อริยสัจ
•   ความมืดบอดของโลก  มีตลอดเวลาที่พระตถาคตไม่อุบัติขึ้น
•   อริยสัจสี่  เป็นสิ่งคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
•   ความรู้สึกของบุถุชน  ไขว้อยู่เสมอต่อหลักอริยสัจ
•   ผู้ติดเหยื่อโลก ชอบฟังเรื่องกาม ไม่ฟังเรื่องสงบ
•   การฟังอริยสัจ  เหมาะสำหรับจิตที่ปราศจากสังขารแล้วเท่านั้น
•   จิตที่ยังไม่ปราศจากสังขาร  ไม่มีโอกาสจะเห็นนิโรธอริสัจ
•   สัตว์โลก  รู้จักความสงบสันติ  ต่อเมื่อปัญญาปรากฏ
•   ผู้ไม่รู้อริยสัจ ย่อมหลงสร้างเหวแห่งความทุกข์เพื่อตัวเอง อยู่ร่ำไป
•   ผู้รู้อริยสัจ หาหลงสร้างทุกข์ขึ้นเพื่อตัวเองไม่
•   ผู้ไมรู้อริยสัจ  ชื่อว่าตกอยู่ในความมืด
•   ผู้รู้อริยสัจเป็นหลักอยู่ในใจ ย่อมไม่มีอาการสั่นสะเทือนเพราะถูกยกวาทะ  ดุจเสาหิน
•   ผู้ประกอบด้วยวิชา  คือผู้มีความรู้สี่อย่าง
•   อย่าคิดเรื่องโลก  แต่คิดเรื่องอริยสัจ
•   เมื่อยังไม่ทรงรู้อริยสัจ ก็ยังไม่ชื่อว่า  ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
•   ถ้าไม่รู้เบญจขันธ์โดยนัยอริยสัจก็ยังไม่ทรงปฏิญญาเป็นพระพุทธเจ้า
•   พระพุทธองค์ ทรงพระนามว่า สัมมาสัมพุทธะ  ก็เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจ
•   ทรงรอบรู้โลก  ก็เพราะรู้อริยสัจ
•   ทรงบันลือสีหนาท ประกาศจตุราอริยสัจ
ระเบียบความคิด
ความเห็นมี สิ่งที่ถูกเห็นมี เกิดการเรียนรู้ขึ้น ใจมี จงเอาความรู้ไปคิด จิตมี โดยใช้วิธีคิด ที่มีระเบียบวินัยในการคิด  มีระเบียบอะไรก่อน อะไรหลัง  มีวินัยในการคิด อะไรควรอยู่ตรงไหน  ก็จะเกิดเห็นความสามัญของสิ่งนั้น โดยมีวินัยในความคิด   เมื่อเข้าไปเกี่ยวคล่องกับสิ่งได ก็จะเห็นสิ่งที่ถูกเห็นโดยเห็นความสามัญของสิ่งนั้นทันทีโดยไม่ต้องเอามาคิด  ความคิดที่เป็นความสามัญก็จะปรากฏทันที  (นี้คือศีล)    ก็จะรู้สิ่งนั้นเพรียวๆ   แบบบริสุทธิ์   มีความชัดเจนมั่นคง ไม่หวั่นไหว ปราศจากนิวรณ์โดยสิ้นเชิง   ( นี้คือสมาธิ   หรือนิโรธ )  ก็รู้ฉับไวต่อกองสังขารนั้น รู้คบทั่วในกองสังขารโดยสัจจะทั้งสี่อย่าง  เหมือนของที่ค่ำกลับหงายขึ้น  ไม่มีอะไรปิดบังซ่อนเรนอีกต่อไป  (นี้คือปัญญา )
        จรึงไม่มีอะไรที่หนักหรือมีภาระอีกต่อไป  ทำอะไรก็เสร็จทุกๆเรื่อง ทุกๆสังขาร   จะทำกิจกรรมอันไดเมื่อเห็นความสามัญความบริสุทธิ สะอาด  ความชัดเจนมั่นคงมีศักยภาพ  ว่องไวต่อกองสังขารนั้น  นี้คือทำหน้าที่โดยธรรม
นี้คือปฏิบัติธรรม  นี้คือมัชฌิมาปฏิปทา  จะนำวิธีคิดอย่างนี้ไปศึกษาอะไรก็ได้     เช่น  พุทธิศึกษา  จริยศึกษา  พลศึกษา  หัตถศึกษา 
1.   พุทธิศึกษา  คือ  รู้แบบตื่นแบบเบิกบาน  ไม่รู้แบบหลับแบบเชื่อคนอื่น เชื่อตำรา   ศึกษาให้ประจักรต่อสิ่งนั้น  ในองค์ 4 อย่างหรือสัจ 4 อย่าง  1 เห็นรู้ธรรมชาติของสิ่งนั้น  2 เห็น รู้ขบวนการหรือองค์ประกอบของธรรมชาติ  3 เห็นรู้ หน้าที่ของธรรมชาตินั้น   4 เห็นรู้ผลหรือปรากฏการของธรรมชาติ
2.   จริยศึกษา คือ  พฤติหรือการทำหน้าที่ โดยธรรม
3.   พลศึกษา  คือ พลังความรู้  พลังความคิด  ศักยภาพ  ปราศจากพยาธิความคิด พยาธิร่างกาย  ปราศจาก 3 อ.  1  อ.  อคติ  2 อ.อัตตา 3 อ.อวิชา
4.   หัตถศึกษา คือ ความถนัด ความชำนานต่อหัตถกรรมนั้น












« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 12, 2558, 04:03:16 AM โดย admin »